บริการบนอินเตอร์เน็ต

                                                                                                  บริการบนอินเตอร์เน็ต

5.3 บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
5.3.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail) เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย
เกร็ดน่ารู้
การใช้อีเมลให้มีประสิทธิภาพ
ข้อเด่นประการหนึ่งของการใช้งานอีเมลคือ ผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังผู้รับ พร้อมกับทำสำเนาข้อความไปให้กับบุคคลอื่นด้วย ในการทำสำเนาข้อความผู้ส่งควรคำนึงถึงสถานการณ์การใช้งานและเลือกใช้ให้ถูกต้อง
 – การใช้ cc (carbon copy: cc) ใช้ในกรณีที่ต้องการส่งสำเนาอีเมลถึงคนรับคนอื่น โดยผู้รับจะเห็นว่าสำเนาถึงใครบ้าง
 – การใช้ bcc (blind carbon copy: bcc) ใช้ในกรณีที่ต้องการส่งสำเนาอีเมลถึงผู้รับคนอื่น โดยไม่ต้องการให้ทราบว่าสำเนาถึงใครบ้าง
มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล
 1.ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล
 2 เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน
 3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง
4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc
5.อย่าใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน
6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน
7.ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง
8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก
9.ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น
10.ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้
    5.3.2 การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพี
แชท (Chat)
เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือระหว่างกลุ่มบุคคลโดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์เช่น Windows Live และ Yahoo messenger
ห้องคุย (Chat room)
เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อการสนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่งประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสาร
ในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือการใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสารตัวอย่างห้องคุย เช่น CHATABLANCA
เกร็ดน่ารู้
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย
เช่น การแชท การส่งอีเมล และการส่งเอสเอ็มเอส ผู้รับและผู้ส่งสามารถแสดงอารมณ์ในการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ที่เรียกว่า สัญรูปอารมณ์ emotion เช่น ใช้เครื่องหมาย : – ) แทนการยิ้ม หรือใช้ : – ( แสดงอารมณ์เบื่อ หรือ ไม่ถูกใจ โดยในปัจจุบันสัญรูปต่างๆ มีการพัฒนาเป็นภาพ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มากมายให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามต้องการ เพื่อแสดงอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ
วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือ วีโอไอพี (Voice over IP : VoIP)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (Internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์โอเวอร์ไอพีในอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง
เกร็ดน่ารู้
ข้อควรระวังในระหว่างการสนทนากับคนแปลกหน้าที่พบกันบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของบุคคล มีดังนี้
 1.ไม่ควรให้รายละเอียดส่วนตัว เช่น ที่อยู่ หายเลขโทรศัพท์ และ รูปภาพ ที่อาจนำมาสู่การคุกคามที่ไม่พึ่งประสงค์
 2.ไม่ควรหลงเชื่อในคำพูด โดยขาดการไตร่ตรองถึงเหตุผลที่เหมาะสม
 3.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน หรือคนรู้จักโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
4.ไม่ควรไปพบคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อนแบบต่อหน้า ไม่ว่าสถานการณ์ใดทั้งสิ้นถ้ามีความจำเป็นให้ปรึกษาครู หรือผู้ปกครองก่อนเสมอ
 5.ไม่ควรรับแฟ้มข้อมูลที่ส่งมา โดยไม่มีการยืนยันจากผู้ส่ง เพราะอาจเป็นแฟ้มที่ส่งโดยไวรัสคอมพิวเตอร์
5.3.3 เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnow
 5.3.4 บล็อก (blog) เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG
5.3.5 ไมโครบล็อก (microblog)เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือเลือกตามสมาชิกอื่นได้ ตัวอย่างไมโครบล็อก เช่น twitter , yammer , Jaiku และ tumblr 
  5.3.6 วิกิ (wiki )  เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS
    5.3.7 อาร์เอสเอส (Really Simple Syndication: RSS ) 
    เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ (subscribe) ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆโดยตรง เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองทีละเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจมีความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลแตกต่างกันไป ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่มีการให้บริการเผยแพร่แบบอัตโนมัตินี้ โดยคลิกปุ่มสัญลักษณ์ หรือ RSS หรือ XML ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ แล้วคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูลที่ขอรับบริการไว้เป็นสัดส่วนที่สะดวกการเข้าถึง โดยมีอาร์เอสเอสรีดเดอร์ (RSS reader) หรือ ฟีดรีดเดอร์ (Feed reader) หรือคอนเทนท์ แอกกรีเกเตอร์(content aggregator) ทำหน้าที่คอยติดตามการปรับปรุงของข้อมูลที่ได้รับบริการไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมไปยังข้อมูลที่เผยแพร่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยได้โดยตรง ช่วยประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่สนใจที่มีอยู่มากมายได้อย่างครบถ้วน
 5.3.8 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต

 

ใส่ความเห็น